Use APKPure App
Get ชุมชนแสนกล้าดี old version APK for Android
SYSTÈME DE FRAM FOREST FRAM FOREST FRAM POUR LA GESTION
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ)ได้ดำเนินการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ(Geo-informatics) มาประยุกต์ใช้ในการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงของพื้นที่ผ่านเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือเผยแพร่สู่วงกว้าง เริ่มจากการนำเครื่องสำรวจค่าพิกัดจีพีเอส (Grable Positioning System : GPS ) มาสำรวจขอบเขตแปลงที่ดินของเกษตรกรในการจำแนกแนวเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์กับพื้นที่ป่าธรรมชาติเพื่อเป็นการสร้างแนวเขตที่ดินให้เกิดความชัดเจนแก่เกษตรกร ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการในพื้นที่ ผลคือการสร้างความหมั่นใจในเรื่องการลดการบุกรุกขยายพื้นที่ ความสามารถตรวจสอบและใช้ข้อมูลชุดเดียวกันในการวินิจฉัยข้อขัดแย้งต่างๆได้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information System : GIS) สามารถนำฐานข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆมาทำงานร่วมกันได้โดยการใช้ระบบค่าพิกัดเป็นตัวกลางในการเชื่อโยงข้อมูลในลักษณะซ้อนทับเป็นชั้นๆ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม(Remote sensing) จากอดีตจนถึงปัจจุบันมาทำงานร่วมกันได้เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์จากภาพที่ปรากฏและสามารถนำฐานข้อมูลอื่นมาซ้อนทับได้อีกด้วย กระบวนการเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในการวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการที่ดิน งานพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การออกแบบผังการใช้ที่ดิน เป็นเครื่องมือใช้ลดความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากร-ที่ดิน รวมทั้งสร้างความเข้าใจในรูปแบบการทำเกษตรตามวิถีชีวิตดั้งเดิมแบบไร่หมุนเวียน และท้ายที่สุดคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ดำเนินงานโดยการนำข้อมูลแปลงที่ดินที่ผ่านการประเมินศักยภาพของที่ดินมาต่อยอดถึงการส่งเสริมการผลิตที่เหมาะสมกับที่ดินเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจต่อเกษตรกรเจ้าของที่ดินวิธีการเข้าถึงข้อมูลยังถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ทั้งการใช้ข้อมูลเหล่านี้ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ข้อมูลและการใช้โปรแกรมเฉพาะทาง รวมถึงความไม่สะดวกในการนำคอมพิวเตอร์ไปเปิดใช้ในงานสนามเมื่อจำเป็นจะต้องลงแปลงที่ดิน ซึ่งดูจะเป็นข้อจำกัดหลักหากมองทิศทางในการทำงานของมูลนิธิฯที่เน้นหนักไปในงานส่งเสริมการผลิตที่เหมาะสมกับที่ดินเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป้าหมายหลักๆในการดำเนินงานคือการส่งเสริมใช้เกษตรกรลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดในลักษณะลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดตามความสมัครใจ เพื่อนำพื้นที่มาปลูกพืชทดแทนรายได้เช่น กาแฟ ไผ่ ไม้ยืนต้น ฯลฯ ตลอดการดำเนินงานจะต้องมีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของต้นไม้ที่เกษตรกรปลูก ดังนั้นจะต้องมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพื่อจัดทำตำแหน่งและรายละเอียดของแปลงที่ดิน พร้อมทั้งถ่ายภาพเจ้าของและสภาพแปลงเมื่อทำการปลูกครั้งแรก รวมถึงการเก็บตำแหน่งปลูกต้นไม้แต่ละต้นและถ่ายภาพต้นไม้ซึ่งเกษตรกรจะต้องถ่ายภาพต้นไม้ทุกปีเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นพัฒนาการเติบโตและการยังมีอยู่ของต้นไม้Telechargé par
Ruth Obikueze
Nécessite Android
Android 4.2+
Catégories
Signaler
Last updated on Nov 20, 2018
Minor bug fixes and improvements. Install or update to the newest version to check it out!
ชุมชนแสนกล้าดี
FOREST FARM1.2 by มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ภาคเหนือ)
Nov 20, 2018